ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
1. จอภาพ : เป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลที่มีมากับเครื่องคอมพิวเตอร์
จอภาพมีลักษณะคล้ายจอภาพโทรทัศน์ จอภาพมีทั้งแบบสีเดียวและแบบจอสี
ซึ่งจะให้ภาพที่มีหลากสีและมีความละเอียดมากกว่าจอภาพแบบสีเดียว นำผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานออกมาแสดงในลักษณะต่าง ๆ
ที่ใช้ต้องการ
2. เมาส์ : เป็นอุปกาณ์สำหรับชี้ตำแหน่ง
(Point) ใช้ในการควบคุมและเคลื่อนย้ายตำแหน่งบนจอภาพ
รวมทั้งการเลือกด้วยการคลิก รูปแบบของเมาส์ตามปกติจะมีปุ่มเพื่อให้คลิก 2
ปุ่มด้วยกันคะ คือ ปุ่มคลิกซ้าย และปุ่มคลิกขวา
3. คีบอร์ด : เป็นอุปกรณ์ที่นำเข้าข้อมูลเพื่อสั่งให้หน่วยประมวลผลกลาง
(CPU) เกิดจากการเปลี่ยนกลไกการกดปุ่ม
ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าส่งให้คอมพิวเตอร์ โดยสัญญาณดังกล่าว
จะบอกให้คอมพิวเตอร์ทราบว่ามีการกดคีย์อะไร การทำงานทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วย
ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ขนาดเล็กที่บรรจุในคีย์บอร์ด
และสัญญาณต่างๆ จะส่งผ่านสายสัญญาณผ่านทางขั้วต่อของแป้นพิมพ์
4. เคส : โครงหรือกล่องสำหรับบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์เอาไว้ภายใน เช่น
แผงวงจรหลัก ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำ หน่วยประมวลผล
ลักษณะของเคสมีทั้งแบบแนวนอนและแนวตั้ง ขนาด สี
และรูปร่างลักษณะภายนอกมีความหลากหลายมากคะ แล้วแต่ผู้ผลิตเคสแต่ละรายจะออกแบบ
เช่น เคสที่โปร่งใสสามารถมองเห็นอุปกรณ์ภายในเคสได้อีกด้วย
ดังนั้นผู้ที่จะซื้อเคสก็ควรเลือกตามความเหมาะสมของงานและสถานที่ที่จะนำเคสไปวาง
5. ฮาร์ดดิสก์ : เป็นคลังเก็บข้อมูลของระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่างๆ
ในเครื่องคอมพิวเตอร์
สามารถเก็บข้อมูลได้มากและเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยง
นอกจากนี้พื้นที่ของฮาร์ดดิสก์บางส่วนของฮาร์ดดิสก์ยังถูกจำลองให้เป็นแรมเสมือนหรือ
Virtual Memory ซึ่งช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น
6. พาวเวอร์ซัพพลาย(แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์) : เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์
ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์
ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย
ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส
คือแบบ AT และแบบ ATX
7.เมนบอร์ด : เชื่อมต่อข้อมูล
เข้ามายังเมนบอร์ดผ่าน IDE Slot เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการการทำงานของอุปกรณ์ชนิดต่างๆ
แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช
หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส
8. แรม : จดจำข้อมูลที่อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน
หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่
ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง
เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น
9. ซีพียู : การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ และเปรียบเทียบทางตรรกะของข้อมูลและ
ควบคุม การทำงานของคอมพิวเตอร์
10. การ์ดจอ : การนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูมาแสดงบนจอภาพ แปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร หรือ รูปภาพ ทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมการทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจอภาพจะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจากการ์ดแสดงผลอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นทั้งการ์ดแสดงผลและจอภาพจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ภาพออกมาแสดงบนจอภาพ จอภาพจะต้องสนับสนุนความสามารถที่การ์ดแสดงผลสามารถทำได้
11. ไดรฟ์ดีวีดี : สำหรับอ่านข้อมูล
การบันทึกข้อมูลภาพ ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น